สังคมปัจจุบันให้คุณค่ากับความสุขเมื่อคุณบอกกับใครซักคนถึงความเศร้าที่คุณมีอาจมักได้การตอบกลับให้คิดบวกแต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อสังคมกดดันให้มีความสุขกลับให้ผลตรงกันข้ามและอาจนำไปสู่อัตราที่เพิ่มขึ้นของโรคซึมเศร้าได้
ในปี 2017 มีงานวิจัย “การรับความกดดันจากสังคมให้ไม่คิดลบคาดการณ์อาการซึมเศร้าในชีวิตประจำวัน” (Perceiving social pressure not to feel negative predicts depressive symptoms in daily life) โดยพยายามศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังของสังคมให้ไม่คิดลบกับการเกิดอาการซึมเศร้า
โดยมีการทดลองให้ผู้เข้าร่วม 112 คนที่เป็นคนมีคะแนนภาวะซึมเศร้าสูงกว่าเฉลี่ยทำแบบทดสอบทางออนไลน์ทุกวันเป็นเวลา 30 วันโดยใช้คำถามที่ออกแบบเพื่อวัดระดับความซึมเศร้าและความรู้สึกกดดันจากการไม่ให้เศร้า
หลังบันทึกอารมณ์ทั้งหมดและอารมณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้นผู้เข้าร่วม 120 คนถูกสุ่มไปเข้าร่วม 1 ใน 3 สถานการณ์การทดลองที่ให้แก้โจทย์ตัวอักษร 35 ชิ้นใน 3 นาทีแต่สิ่งที่ผู้เข้าร่วมไม่รู้คือครึ่งหนึ่งของโจทย์ใน 2 สถานการณ์แรกไม่มีทางแก้ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าร่วมจะทำไม่ได้และต้องเจอกับความล้มเหลว
การทดลองแรกผู้เข้าร่วมจะเข้าไปในห้องเล็กๆที่ตกแต่งด้วยโปสเตอร์และหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจพร้อมมีผู้ดำเนินการทดลองที่ร่าเริงคอยนำให้ทำโจทย์
สถานการณ์ที่สองเป็นห้องห้องปกติธรรมดาและห้องที่สามมีของที่สื่อถึงความสุขกระจายอยู่ในห้องแต่คราวนี้ผู้เข้าร่วมได้รับโจทย์ที่แก้ได้ทั้งหมดพวกเขาจึงไม่ประสบกับความล้มเหลว
หลังจากทำโจทย์เสร็จผู้เข้าร่วมได้ทำแบบทดสอบการเพ่งสมาธิไปที่การหายใจหากมีความคิดหรือความรู้สึกอื่นแทรกเข้ามาเมื่อไหร่ให้อธิบายความคิดนั้นๆและความถี่ในการเกิดความคิดแทรกจากการเพ่งสมาธิทำให้นักวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมในสถานการณ์แรกจมอยู่กับความรู้สึกล้มเหลวมากกว่าผู้เข้าร่วมในการทดลองสถานการณ์อื่น
การวิเคราะห์เชิงสถิติจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ายิ่งผู้ร่วมการทดลองรู้สึกกดดันจากสังคมไม่ให้เศร้าหรือเครียดเท่าไหร่ยิ่งแสดงแนวโน้มอาการซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้นอย่างห้องในสถานการณ์แรกที่มีบรรยากาศสร้างความสุขและกำลังใจสดใสร่างเริงกลับทำให้เมื่อผู้เข้าร่วมเจอกับปัญหาความเครียดและผิดหวังจะรู้สึกซึมเศร้าเครียดล้มเหลวมากกว่าห้องอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นตัวแปรสำคัญที่สามารถคาดการณ์อาการซึมเศร้าในประจำวันและแสดงว่าสังคมแวดล้อมและวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมมีบทบาทหลักในการกำหนดอาการป่วยทางจิตนี้
“อัตราความเศร้าจะสูงกว่าในประเทศที่ให้คุณค่ากับความสุข” นักจิตวิทยาสังคม Brock Bastian กล่าวการแสวงหาความสุขมีค่าใช้จ่ายของอารมณ์ที่จะมาคู่กันเป็นอีกจุดโฟกัสของงานวิจัยอีกชิ้นนี้ของ Bastian ที่สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังสังคมและความวิตกโดยให้ความสนใจอาการทุกข์ของคนที่ผิดหวัง
Bastian ได้สรุปว่าการเน้นย้ำไปที่ความสุขหรือการให้ความสำคัญกับการมองหาแง่บวกและหลีกเลี่ยงอารมณ์แง่ลบมีผลกระทบต่อการจัดการประสบการณ์ทางอารมณ์ด้านลบเราคิดว่าเราควรมีความสุขและคาดหวังไว้เช่นนั้นเมื่อไม่เป็นอย่างที่หวังจึงทำให้ทุกข์ผู้คนประสบปัญหาจากการที่ไม่ได้มองความสุขเป็นส่วนๆในชีวิตและการมีความสุขได้กลายเป็นเป้าหมายในชีวิต
“รู้สึกเศร้า ผิดหวัง อิจฉา เหงา ไม่ใช่สิ่งไม่ควรไม่เหมาะสมแต่คือความเป็นมนุษย์”
Bastian เสนอว่าจิตแพทย์สามารถทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความกดดันทางสังคมเพื่อที่พวกเขาสามารถเลือกวิธีรับมือกับมันได้ดีขึ้น
สังคมควรเลิกตีตราความเศร้าความเครียดและท้าทายอคติของผู้คนที่มีต่ออารมณ์ด้านลบเพราะความสุขไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงความรู้สึกทางลบหากแต่เป็นการยอมรับและเข้าใจในอารมณ์ด้านลบเพื่อนำไปสู่การมีความสุขที่ยั่งยืน