โซเชียลมีเดีย กับ ความเหงา

“เทคโนโลยีสามารถช่วยแก้ปัญหาคนที่โดดเดี่ยวทางสังคม แต่สำหรับบางคน เทคโนโลยีคือต้นเหตุ ของปัญหา”

โซเชียลมีเดียกับความเหงา

นี่คือคำกล่าวของ Tracy Crouch รัฐมนตรีด้านความเหงาของอังกฤษ เทคโนโลยีที่ Tracy ว่านั้น หมาย ถึงสื่อโซเชียลต่างๆ

Social Media ถูกสร้างมาให้คนได้เชื่อมโยงถึงกันง่ายขึ้น แต่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่อโซเชียลมากที่สุด กลับเป็นกลุ่มที่รู้สึกเหงาที่สุดไปด้วย

Dr. Brian Primack นักวิจัยด้ายเทคโนโลยีและสุขภาพ ได้เปรียบเทียบความสัมพันธ์ในโลกจริงกับโลก ออนไลน์ไว้ว่า เป็นเหมือนลูกแอปเปิ้ล กับซีเรียลรสแอปเปิ้ล

การทานซีเรียลรสแอปเปิ้ล ย่อมดีกว่าปล่อยให้ท้องว่าง แต่มันคงไม่ดีแน่ๆ ถ้าเรามีโอกาสนั่งในสวนแอ ปเปิ้ล แต่กลับหยิบซีเรียลรสแอปเปิ้ลมากิน

ปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์ไม่สามารถเติมเต็มความต้องการทางสังคมได้เท่ากับการเจอหน้ากันจริงๆ เช่น เดียวกระแสของชาวเน็ตที่ทำให้ผู้ใช้บางคนรู้สึกกลัวตกเทรนด์ (Fear of Missing Out) ทำให้คนยิ่งใช้ เวลาอยู่กับหน้าจอมากขึ้น

นอกจากนี้ สิ่งที่ลงในสื่อโซเชียล ส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่เจ้าของแอคเคานท์ “เลือกสรร” ที่จะลงมาอย่าง ดี ภาพถ่ายสวยๆ ทางอินสตาแกรม ที่ถ่ายมาหลายสิบรูปเลือกรูปเดียว การคัดมาแต่โมเมนต์ดีๆ ในชีวิต มาเล่าทางเฟซบุ๊ก ชีวิตดีๆ ทางสื่อโซเชียลของคนอื่น ยิ่งทำให้บางคนรู้สึกว่าตัวเอง “ไม่เข้าพวก” และ ยิ่งส่งเสริม “ความเหงา” มากขึ้นไปอีก

ถึงอย่างนั้น จากการสำรวจก็พบว่าพฤติกรรมของคนเหงาที่มีร่วมกันคือการใช้เวลาในโลกออนไลน์ โดย เฉพาะการเข้าสื่อโซเชียลต่างๆ ในทางจิตวิทยามองว่าหลายๆ คนเข้า social media เพื่อให้ตัวเองรู้สึก จดจ่อกับอะไรบางอย่างอยู่

อย่างไรก็ตาม ก็มีคนเสนอว่าการสื่อโซเชียล สามารถเชื่อมโยงคนเข้าหากันได้จริงๆ ตามจุดประสงค์เดิม ของมัน ซึ่งนั่นขึ้นอยู่กับ user ว่าจะใช้สื่อในมือแบบไหน

David Ludden อาจารย์ด้านจิตวิทยา ยกตัวอย่างว่า ถ้านักศึกษาปีหนึ่งใช้เวลาในโลกออนไลน์ไปกับ การคุยกับเพื่อนเก่าในสมัยมัธยม เท่ากับว่าพวกเขาเสียโอกาสในการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ และนั่นยิ่ง ทำให้พวกเขารู้สึกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยเปลี่ยวเหงา ขณะเดียวกัน ถ้านักศึกษาใช้สื่อโซเชียลเพื่อคุยกับ เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย สื่อโซเชียลก็จะทำให้พวกเขารู้สึกเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น

เช่นเดียวกับคนที่รู้สึกเหงาทางสังคมและความคิด ที่รู้สึกว่าหาคนที่เป็นแบบเดียวกันกับเรา หรือคุยในสิ่ง ที่เราสนใจได้ยาก การมีกลุ่มสังคมทางออนไลน์ สามารถช่วยเติมเต็มได้

โดยเฉพาะกับการสนทนาแบบเห็นหน้า เช่น Facetime หรือ video call ต่างๆ ก็ช่วยให้คนที่อยู่ไกลกัน ได้คุยกัน ในกลุ่มผู้สูงอายุการใช้โซเชียลมีเดีย ทำให้เขาสามารถติดต่อเพื่อนเก่าๆ หรือญาติๆ ที่นานๆ ได้เจอกัน สิ่งเหล่านี้ช่วยเติมเต็มจิตใจได้เป็นอย่างดี

สิ่งหนึ่งที่น่าเอาไปคิดต่อคือ เราจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในโลกโซเชียลกับความสัมพันธ์ในโลกออฟไลน์กันอย่างไร?

 

ที่มาของข้อมูล

http://www.dazeddigital.com/politics/article/39394/1/minister-for-loneliness-tracey-crouch-interview

https://www.psychologytoday.com/us/blog/talking-apes/201801/does-using-social-media- make-you-lonely

https://www.eurekalert.org/pub_releases/2017-03/uops-msc022817.php