ความเหงาหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ?
ไม่มีใครเคยเห็น “ความเหงา” แต่ไม่ว่าใครก็รับรู้ร่วมกันว่าความเหงาเป็นเหมือนอากาศ ที่มีอยู่จริงแม้ มองไม่เห็น และไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักความเหงา มีผลวิจัยรายงานว่าสัตว์ชนิดต่างๆ ก็ล้วนรู้สึก เหงาได้เช่นกัน
ในทางจิตวิทยาได้อธิบายความรู้สึกเหงาเอาไว้ว่า “ความรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนเดียว แปลกแยกกับสิ่งรอบ ตัว” ที่ทำให้เราไม่รู้สึกเชื่อมโยงหรืออยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมบางอย่างได้อย่างมีความสุข
นั่นอาจเป็นเพราะเราต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ต้องอยู่กับคนที่เคมีหรือความคิดไม่ตรงกัน และเราไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ รวมไปถึงการสูญเสียคนรัก/เพื่อนสนิท หรือแม้แต่ ความรู้สึกที่ว่าเพื่อนหรือคนรักของเราเปลี่ยนไป ทั้งหมดนี้ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก และอยากถอยห่าง จากความสัมพันธ์ที่ไม่ลงตัว
ความเหงาเป็นเรื่องของ “ความรู้สึก” เพราะคนเราสามารถรู้สึกเหงาได้แม้ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เช่นเดียวกับคนเราสามารถอยู่คนเดียวได้โดยไม่รู้สึกเหงา
ถึงจะพูดว่าความเหงาคือความรู้สึก แต่ความเหงาไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ แต่อย่างใด
สมองส่วนที่รับรู้ความเหงา เป็นสมองส่วนเดียวกับที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดทางร่างกายที่เรียกว่าAnterior Cingulate Cortex ดังนั้นการบอกว่าความเหงาเจ็บปวดเหมือนถูกมีดกรีดกลางใจหรือเข็มนับ พันเล่มทิ่มแทงไม่ใช่คำกล่าวเกินจริง ทางการแพทย์ยังเรียกความเหงาว่าเป็น Social Pain หรือความ เจ็บปวดทางสังคมอีกด้วย
ถ้าความรู้สึกเหงาถูกปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง จะส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งปัญหาสุขภาพจิต เช่นเดียวกับมีงาน วิจัยบ่งชี้ว่าความเหงาทำให้อายุขัยคนเราสั้นลงได้อีกด้วย
เพราะอะไรทำไมต้องเหงา?
ความเหงาอยู่กับสิ่งมีชีวิตมานับล้านปี ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin ความเหงาคือส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ด้วยการสร้างครอบครัว เช่นเดียวกับการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพื่อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันในการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ สัตว์ทุกชนิดรวมถึงมนุษย์จึงมีความต้องการพื้น ฐานที่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่แรกเกิด
เรารู้สึกเหงา เพราะสมองกำลังส่งสัญญาณเตือนว่าเราต้องเติมเต็มความต้องการทางสังคมโดยด่วน
ถึงอย่างนั้น ความต้องการทางสังคมไม่สามารถแก้ได้ง่ายๆ ด้วยการหาใครก็ได้มาคุยด้วย เพราะความ รู้สึกเหงามีหลายรูปแบบและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การเข้าไปสำรวจจิตใจของคนว่าความเหงามัน เกิดจากตรงไหน และต้องแก้อย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและใช้ทักษะด้านจิตวิทยา ที่คนเหงาอาจจะ แก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้
ผู้คนในแต่ละยุคสมัย ต่างมีมีปัญหาในแบบของตัวเอง และความเจ็บปวดทางสังคมอย่าง “ความเหงา”ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามหรือตัดสินง่ายๆว่า “เรื่องนี้มันอยู่ที่ใจ” ของใครคนหนึ่งเท่านั้น
ที่มา
https://www.verywellmind.com/loneliness-causes-effects-and-treatments-2795749
https://www.psychologytoday.com/us/blog/pieces-mind/201301/accepting-loneliness https://www.youtube.com/watch?v=-f6P9f6bmlA https://www.thedodo.com/ants-social-behavior-lonely-971595069.html