We are afraid to care too much, for fear that the other person does not care at all.
Eleanor Roosevelt
ช่อขวัญ ช่อผกา (คิดตี้) เป็น CEO และผู้ก่อตั้งของบริษัท Elevated Estate ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชาในเชิงของธุรกิจ และเป็นคุณแม่สุดเฮี้ยบของลูกๆ วัยกำลังซน ด้วยความที่คิตตี้โตมากับเกมครอบครัวอย่าง Monopoly, Clue, Scrabble ความเนิร์ดนี้ก็ได้ส่งต่อไปยังลูกๆ ที่เร่ิมอยากเรียนวิธีเล่น Magic the Gathering
“คนเราไม่ได้เป็นแบบเดิมตลอดเวลา อยู่ที่ว่าเราอยู่สถานที่ไหนและเราต้องการให้มันเป็นยังไง” - สัณหณัฐ ทิราชีพ (นอร์ท) คอนเทนท์ครีเอเตอร์ นักเดี่ยวไมโครโฟน และนักแสดง บอกกับเราด้วยน้ำเสียงเคร่งขรึม ด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร เพจบ้านกูเองใช้เวลา 2 ปี ในการสร้างผู้ติดตามจาก 0 สู่ยอดผู้ติดตาม 800,000 คน ในปี
“หลายคนจะมองเห็นว่า ครูทอมเป็นคนที่มั่นใจ ดูไม่น่าจะมีประเด็นอะไรอ่อนไหวในใจ แต่จริง ๆ แล้วคือมีเยอะมาก ทั้งเรื่องการงาน เรื่องเพื่อน ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ครอบครัว หลายอย่างมันแอบๆ อยู่ในนั้น แล้วคือไม่อยากจะพูดออกมาเพราะบางทีเราก็ไม่รู้ว่า ถ้าพูดออกมาแล้วจะไปทำร้ายความรู้สึกของใครบ้าง เราเลยเลือกที่จะเก็บไว้” จักรกฤต โยมพยอม (ครูทอม) พิธีกรรายการโทรทัศน์
สำหรับคนที่ชอบลายเส้นหวานๆ อาจจะคุ้นเคยกับชื่อของ “Paerytopia” หรือ พิมพ์ชนก ทีปพงศ์ (แพร) นักวาดที่ขยันออกผลงานบ่อยมากกก ไม่ว่าจะเป็น สินค้าที่ระลึก และคอนเทนท์ออนไลน์ ด้วยความที่ทุกวันนี้ตลาดนักวาดมีคนเข้ามาโลดแล่นในวงการมากขึ้น เราเลยอยากใช้เวลาช่วงบ่ายสั้นๆ ชวนแพรพูดคุยกันว่า “การทำงานที่เรารัก” อย่างเช่นงานวาด บางครั้งอาจไม่ได้เป็นเส้นทางที่สวยหวานเสมอไป แนะนำตัวเองหน่อยค่า ตอนนี้เป็นนักวาดภาพประกอบอิสระค่ะ ส่วนมากจะวาดภาพเป็นสไตล์ผู้หญิงๆ
สำหรับคนที่ติดตามวงการสตาร์ทอัพและสุขภาพจิต เราอาจจะคุ้นชื่อ Ooca แอพลิเคชันและเว็บแอปที่ทำให้การนัดหมายจิตแพทย์/นักจิตวิทยาเป็นเรื่องง่าย รวมไปถึงโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยให้นักศึกษาและเยาวชนสามารถรับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วันนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศจากการพูดถึงงานของเธอมาพูดถึงคุณค่าของพื้นที่ปลอดภัยในการสนทนาผ่านการ์ดเกม Free Spirit Dialogue Starter ร่วมกับทีมงานของคุณอิ๊ก กัญจน์ภัสสร ในเย็นวันหลังเลิกงาน คนไทยมีโอกาสได้คุยเรื่องลึกๆ กันบ่อยขนาดไหน แล้วแต่สังคมว่าเค้าอยู่ในสังคมแบบไหน
จากวันแรกที่สังคมรู้จักเธอในฐานะอดีตสมาชิกรุ่นแรกของวงไอดอล BNK48 สู่การผันตัวมาเป็นศิลปินอิสระ ล่าสุด “แคน นายิกา” วัย 25 ปี ก็ได้เดินทางเข้าสู่บทบาทใหม่ในฐานะนักรณรงค์และผู้ช่วยนักการเมืองที่มีผู้ติดตามบนโลกออนไลน์หลักแสน ด้วยความที่ต้องทำงานกับผู้คน และต้องบริหารความคาดหวัง เราเลยชวนแคนมานั่งคุยกันว่าจัดการกับบทบาทของตัวเองที่ท้าทายขึ้นอย่างไรผ่านการเล่นเกมการ์ด Free Spirit Dialogue Starter ซึ่งคำถามแรกที่เราถามเธอคือ ช่วงนี้ชีวิตเป็นยังไงบ้าง?
เราเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เราเป็นคนที่เจอคนที่เข้ากับเราได้ยาก เป็นคนที่ไม่ได้พูดจาเก่ง ไม่ได้ชอบหรือเก่งเรื่องเข้าสังคม และด้วยวัฒนธรรม และ backgroud ที่ต่างจากเพื่อนต่างประเทศ ทำให้ในโรงเรียนที่เราไปแลกเปลี่ยนเรามีเพื่อนน้อยมาก แถมเพื่อนก็ไม่ได้ถึงขั้นสนิทกัน ก่อนจะไปแลกเปลี่ยนเพื่อนที่ไทยพูดกับเราว่า “อย่าหายไปนะ” เราจำมันได้ดี แล้วก็เชื่อมั่นในคำพูดนี้มาก ๆ ในเดือนแรกเพื่อนก็ติดต่อตลอด คอลกัน เฟซไทม์หา แชทกัน
ตอนต้นเมษาที่ผ่านมาได้ตัดสินใจไปหาจิตแพทย์ เพราะเริ่มรู้สึกว่าอารมณ์ตัวเองมันทำเราทรมาน ได้ข้อสรุปว่าเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนทางครอบครัวไม่ยอมรับ ทุกคนรอบตัวคิดว่าเราคิดมาก เพราะเป็นคนเครียดง่าย ผิดหวังในตัวเองง่าย เป็นคนคิดแง่ลบอยู่แล้ว แต่มันมาพีคตอนต้นปี คือตกงาน เคราะห์ซ้ำกรรมซัด แฟนบอกเลิก หางานใหม่ก็โดนเขาหลอกว่าจะรับแต่ก็ไม่รับ พ่อกับพี่สาวก็บอกว่าเราเป็นพวกมโน คิดมากไปเอง ช่วงนั้นเรานอนทั้งวันจริงๆ ไม่ค่อยกินอะไร ชีวิตเอาแต่นอน
แต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่จำความได้ ไม่มีเพื่อนคบ เพราะเป็นคนแปลกๆ ไม่เข้าพวก โดนหาว่าเป็นคนบ้า เป็นออทิสติก เป็นพวกไม่สมประกอบ อัปลักษณ์ เพื่อนก็ไม่คบแถมต้องมาถูกล้อเลียนโดยเพื่อนทั้งโรงเรียน ไปไหนมีแต่คนล้อ มีคนแกล้ง ถูกไถตังค์ด้วย เลยเก็บกดมากๆ เกลียดทุกคน อิจฉาทุกคน เหมือนแพ้แล้วพาล ช่วงนั้นตัวเองเหมือนส่วนเกินทุกอย่าง
มันคือรอยแตกร้าวที่ไม่มีวันประสานกลับ ความุรนแรงที่เธอได้กระทำแก่ฉันมันคือการสร้างรอยแตกร้าวของจิตใจที่ไม่มีวันประสานกลับให้เป็นเหมือนเดิมได้ เธอฟาดฝ่ามือของเธอลงบนใบหน้าของฉัน ในหลายครั้งที่เรามีปากเสียง มีอารมณ์เกิดขึ้นและอยู่เหนือการควบคุมของเธอ หรือเป็นเพราะฉันเองที่ร้องไห้ไม่หยุด ส่วนมากฉันคงเป็นอย่างหลังมากกว่า เพราะฉันเป็นเจ้าแม่ร้องไห้ เธอลงมือทำมันกับฉันแม้ว่าฉันไม่ได้ลงมือเริ่มหรือโต้ตอบต่อความรุนแรงใดๆ ทุกครั้งที่ถูกตบหน้านอกจากความเจ็บปวดต่อร่างกายแล้ว มันเกิดความเจ็บปวดทางจิตใจทวีคูณ "เธอหวังให้ฉันหยุดร้องไห้ด้วยความรุนแรงอย่างนั้นหรือ" บางครั้ง...เธอกดฉันลงบนพื้นห้องด้วยมือทั้งสองข้าง ด้วยแขนอันแข็งแกร่งของเธอ แค่เพียงเพราะเธอต้องการให้ฉันหยุดร้องไห้ แต่มันกลับยิ่งทำให้ฉันร้องไห้หนักกว่าเดิม เพราะความเจ็บ เจ็บที่กายและใจไปพร้อมๆกัน