ความกลัว

We are afraid to care too much, for fear that the other person does not care at all.

Eleanor Roosevelt

Slider

ความเหงาเป็นสิ่งที่ไม่เคยนึกเคยฝันเลยว่าจะเจอกับตัวเอง   ตอนเด็กๆจำได้ว่าเป็นเด็กที่สามารถสนุกผ่านจินตนาการตัวเอง อิสระ ไร้ซึ่งแรงกดดัน แต่พอโตขึ้นความกลัวก็เริ่มเกาะกินใจ ....เด็กในวันนั้นหายไปไหน...   ไม่มีเสียงตอบรับ...   ทุกๆวันใช้ชีวิตกับคำถามที่ว่าเราเป็นอะไรกันแน่ ?    เมื่อความกลัวเข้าถึงแก่นก็ทำให้รับรู้ได้ว่าโลกนี้มันช่างแย่เสียเหลือเกิน  และความเศร้าก็เริ่มตามมา    เราเถียงกับตัวเองซ้ำไปซ้ำมา  จนสุดท้ายต้องเว้นระยะจากทุกคน  เพื่อให้ทุกคนไม่มาเจ็บปวดกับสิ่งเหล่านี้  
ตัวหนูเองเป็นคนขี้เหงาและขี้เบื่อมากๆ เป็นคนชอบอยู่กับคนอื่น ในขณะที่บางทีก็ชอบอยู่คนเดียว   หนูเคยคบกับคนคนนึงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเพิ่งเลิกกันไปเมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน   ความเหงาในชีวิตหนูมันเริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนที่หนูย้ายมาเข้าชั้น ม.4 ที่โรงเรียนอื่น หนูมาเหมือนตัวคนเดียวทั้งๆที่เพื่อนในกลุ่มก็มาด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่คนที่หนูสนิทที่มาด้วยกัน ในตอนแรกๆมายังไม่เจอปัญหาอะไร แต่ด้วยความที่สังคมที่นี้ต่างจากโรงเรียนเดิมมากๆ หนูได้แต่โทรไประบายกับแม่และเพื่อนสนิททุกสัปดาห์   จนมาเทอม 2
ด้วยนิสัยส่วนตัวผมไม่ชอบความวุ่นวาย เสียงดัง สถานที่ที่ผู้คนเบียดเสียด  การไปที่ที่คนเยอะๆ ไม่เคยทำให้ผมรู้สึกหายเหงา  แต่ทุกๆ ครั้งมันกลับทำให้ผมเหงามากกว่าเดิม  ความเหงาสำหรับผมจึงไม่ได้เกิดจากการที่ผมไม่มีคนรอบข้าง  แต่เกิดจากความรู้สึก “ไร้ตัวตน” ในฝูงชนมากกว่า   หลายคนอาจมองว่า การไปสถานที่คนเยอะๆ ทำให้พวกเขาสนุก กล้าและมีกำลังทำสิ่งต่างๆ  เพราะพวกเขาสามารถสัมผัสถึงพลังงานด้านบวกจากการได้ทำอะไรไปพร้อมๆ กับผู้คนหมู่มาก  การกรี้ดไปพร้อมกับแฟนเพลงหรือแฟนกีฬาคนอื่นๆ การได้เต้นไปตามจังหวะเพลงและร้องเชียร์ทีมกีฬากับคนแปลกหน้าจำนวนมาก 
ช่วงแรกของการเรียนมหาลัย เราพยายามช่วยให้เพื่อน 10 คนเรียน กับเพื่อนอีกคนนึง  เพราะเราค่อนข้างหัวไว พยายามกระตุ้น  แล้วเพื่อนอีกคนที่ช่วยก็ซิ่วไป เราเลยต้องแบกทีม    จนทะเลาะกันกับคนที่ไม่ได้ทำงาน 2 คน เรื่องใหญ่มาก  แล้วเราก็เลยแยกออกมาคนเดียว  เพราะเราให้ทั้งใจแต่เจอแบบนี้เลยรู้สึกแย่มาก    หลังจากนั้นก็กลัวการเข้าสังคมขึ้นมา  ไม่กล้ารู้จักใครได้นาน หรือสนิทมาก 
เราจะรู้สึกเหงาทุกครั้งเมื่อคิดถึงเพื่อนเก่าๆ  เรามักจะคิดว่าทำไมเราถึงไม่มีเพื่อนเหลือเลย  เราทำผิดตรงไหนรึป่าว?    ตอนเด็ก เราเคยเป็นคนที่ชอบบังคับคนอื่น มองโลกในแง่ลบ และคอยจ้องจับผิดว่าคนนั้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี  เราคิดว่าเพราะนิสัยแบบนี้เลยทำให้เราไม่มีเพื่อนสนิทเลย  พอขึ้นมหาลัย เราเลยเปลี่ยนตัวเองและก็มีเพื่อนที่รู้สึกสนิทใจด้วย  จนเรียนจบ เราคิดว่าความสัมพันธ์นี้จะยืนยาว... แต่เพราะหลายปีมานี้เรากับเพื่อนแทบจะไม่ได้เจอกัน แล้วความสัมพันธ์ก็ค่อยๆลดลง    ตอนนี้เราไม่ได้คุยกับเพื่อน เราคิดว่าอยู่ได้  แต่พอเห็นภาพของคนอื่นๆในเฟส  เราก็คิดว่าทำไมเราถึงไม่คุยกับเหมือนเมื่อก่อนแล้วนะ 
ผมกับเพื่อนคนนี้เป็นเด็กซิ่วมาเรียนปีหนึ่งที่เดียวกันด้วยอะไรหลายๆอย่างที่คล้ายกันทำให้เราสนิทกันมาก  ...มากจนเกินไป จนทะเลาะกัน   ครั้งล่าสุดเป็นการการะทำที่ไร้สติของผมที่ทำในสิ่งที่เพื่อนผมเกลียดที่สุด จนถึงขั้นโกรธจะตัดเพื่อนกัน  มันจึงเกิดเป็นความเศร้าเสียใจกับกระทำของตัวเองที่ไม่มีสตินึกคิด ตัวผมเป็นโรคซึมเศร้า​ด้วย เลยควบคุมความคิดอารมณ์​ตัวเองไม่ได้นัก  ผมเครียด เสียใจมาก พยายามง้อพยายามขอโทษให้ถึงที่สุดเพราะกลัว  ...กลัวจะเสียเพื่อนคนสำคัญ​คนนี้ไป    จากคำพูดของผมประโยคหนึ่งที่ว่า  “ถึงครั้งนี้กูจะทำให้มึงโกรธเกลียดด้วยความตั้งใจหรือไม่นั้นกูก็ขอโทษจากใจ สำหรับที่ๆผ่านมาระยะ 1 ปี กูไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีสำหรับมึงเลยหรอ
จริงๆ ก็แอบเหงานะ... เวลาไม่สบายใจ ไม่รู้ว่าจะไปเล่าให้ใครฟังดี   รู้สึกว่ามีเพื่อน...  แต่ไม่ค่อยกล้าทักใครก่อน แม้แต่เพื่อนที่สนิทมากๆ เพราะเรากลัวเพื่อนไม่อยากฟัง, ไม่ว่าง ซึ่งทั้งหมดคือ คิดไปเองทั้งนั้น โดยที่ไม่เคยถามเพื่อนก่อน   จริงๆ คิดว่า เราอาจจะแค่เป็นคนขี้เกรงใจหรือมีเพื่อนสนิทน้อยแค่นั้น แต่ความจริงที่ลึกลงไปกว่านั้นคือ... ประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเป็นบาดแผลในวัยเด็ก ที่เคยถูกเพื่อนแบน
เคยคิดไหมว่าทำไมคนยุคก่อนถึงได้ทำพิธีบูชายัญ นำอาหาร สัตว์เป็นๆ หรือแม้แต่คนด้วยกันเอง มาสังเวยชีวิตแก่เทพเจ้า   ความเชื่อว่าในธรรมชาติมี “เทพ” หรือ “พลังเหนือมนุษย์” สถิตอยู่ เป็นสิ่งที่อารยธรรมทั่วโลกทั้งกรีก อียิปต์ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ของไทยเองก็มีร่วมกัน  ความเชื่อเหล่านั้นมีที่มาเหมือนกันคือ “ความกลัว”  ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ
ความกลัวมาจากไหน? ความกลัวในอดีตโดยบรรพบุรุษของเรานั้นเกิดจากความกลัวต่อภยันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อมองเห็นผู้ล่าหรือเมื่อมีภัยพิบัติกำลังคลืบคลานเข้ามา เมื่อเราเริ่มเห็นว่าสิ่งนั้นส่งผลต่อชีวิตและร่างกายของเรา สมองจะส่งสารแห่งความกลัวไปยังกระแสทั่วร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เราตัดสินใจว่าจะหนีหรือสู้กับสถานการณ์อันตรายที่อยู่ตรงหน้า  ความกลัวในความหมายของสมองและร่างกายจึงเป็นการสั่งการให้ใช้ประสิทธิภาพของร่างกายอย่างสูงสุดเพื่อการเอาชีวิตรอดอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาสั้นๆ และนี่คือกลไกของมัน ความกลัวจากสมอง จุดเริ่มต้นของความกลัวนั้นมาจากสมองส่วนที่รูปร่างคล้ายเม็ดอัลมอนต์ที่มีชื่อว่า อะมิกดะลา (amygdalae) ที่มีรากศัพท์ภาษากรีก มาจากคำว่าอัลมอนต์เช่นเดียวกัน  ต่อมอะมิกดะลาทั้งสองข้างนั้นตั้งอยู่ใกล้กับสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ฝังลึกอยู่ในกลีบขมับส่วนกลาง อะมิกดะลานั้นมีบทบาทอย่างมากเกี่ยวกับระบบความจำและการตอบสนองความรู้สึก โดยเฉพราะอย่างยิ่งความกลัว หากคุณพบเจอสถานการณ์สุ่มเสี่ยงที่ทำให้หัวใจเต้นระส่ำไม่เป็นจังหวะ
ความกลัวคือสัญชาตญาณสำคัญของมนุษย์ ที่ทำให้มนุษย์รักษาเผ่าพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้ ความกลัวทำให้เราไม่ออกไปนอกถ้ำยามวิกาล ทำให้เรารีบระวังตัวเมื่อเห็นพุ่มไม้ใกล้ตัวเราขยับไปมา เราจึงปลอดภัยจากเสือและสัตว์มีพิษต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ยังคงกลัวสิ่งที่มองไม่เห็น และไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีจริงอย่าง “ผี” อีกด้วย บางคนกลัวผีแม้จะเกิดมาไม่เคยเจอก็ตาม  วิทยาศาสตร์แห่งความกลัว ความกลัวของมนุษย์เกิดจากสมองสั่งการ สมองที่ว่าคือส่วน Amygdala ที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเล็กๆ ในสมองของมนุษย์ทั้งหมด สมองส่วน Amygdala

Image is not available
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อ
Slider