This is Life : รักลบได้ แต่ไม่เคยลืม – Eternal Sunshine of the spotless mind
“คนสองคนรักกัน ไม่ใช่เกิดจากเพราะการมองเห็นอนาคตที่สดใส แต่เพราะทั้งคู่มองเห็นอดีตที่อยากให้หวนคืน” – เฮเลน ฟิซเชอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เขียนหนังสือ Why We Love
“คนสองคนรักกัน ไม่ใช่เกิดจากเพราะการมองเห็นอนาคตที่สดใส แต่เพราะทั้งคู่มองเห็นอดีตที่อยากให้หวนคืน” – เฮเลน ฟิซเชอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เขียนหนังสือ Why We Love
“ถ้าฉันตายไปในวันนี้ พรุ่งนี้ อาทิตย์นี้ ฉันจะทำอะไรให้คนรักมีความสุข” Be with you คือนิยายขายดีจากปลายปากกาของ อิชิคาว่า ทากูจิ นักเขียนผู้ถนัดแนวรัก-แฟนตาซี ที่เหมือนดังต้องชะตากับ โนบุฮิโระ โคอิผู้กำกับภาพยนตร์แนวรัก-โรแมนติก เช่น Nada Sousou และซี่รี่ย์โทรทัศน์แนวความรักอีกกว่า 10 เรื่อง ผลงานของนักเขียนและผู้กำกับคู่นี้กลายมาเป็น ภาพยนตร์แสนซึ้ง เศร้า อบอุ่น และกรุ่นด้วยไอรัก กระทั่งจะอยู่ในความทรงจำตลอดไป และทำรายได้ถึง 2,400 ล้านบาท
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ความหวังที่จะเห็นสังคมที่ดีขึ้นของคนรุ่นใหม่ โรคระบาด และการอยู่ร่วมกับระบบที่ไม่ได้เปลี่ยนไปได้โดยง่าย – เราถามนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ 3 คน ว่าดูแลตัวเองยังไงในเมื่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน และนี่คือคำตอบที่เราได้รับ กัน อายุ 21 ปี ตอนนี้กำลังเคลื่อนไหวในเรื่องของมรดกของชาติอยู่กับเพื่อน ๆ ชาวศิลปากร แล้วก็ผลักดันพร้อมพูดประเด็นปัญหาทางการเมือง พร้อมกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เรากำลังสู้กับสิ่งที่เป็นไปได้ยากมาก รู้สึกดาวน์มั่งมั้ย ดาวน์แล้วเป็นยังไง ต้องมีดาวน์บ้างอยู่แล้วเพราะเราเป็นมนุษย์นี่นา ตอนที่ดาวน์เรามีสภาพแย่ทั้งทางจิตใจและร่างกาย เพราะเรารู้ว่าการต่อสู้เรียกร้องใดๆ ล้วนกินเวลานานพอสมควร ก็เลยต้องเตรียมใจเยอะ ซึ่งพอมันผ่านไประยะหนึ่ง เราพบว่า บางครั้งผลลัพธ์ได้มากกว่าที่คาดไว้ เช่น ประชาชนสนใจเยอะ แต่ขณะเดียวกันการตอบรับจากผู้มีอำนาจก็ได้น้อยกว่าที่หวัง มีอุปสรรคที่บั่นทอนจิตใจเยอะมาก ทั้งจากคนรอบตัว สภาพเงื่อนไขในชีวิต เพื่อนพี่น้องโดนจับ มันคือความเศร้าโศกเสียใจปะปนกับความโกรธแค้นชิงชังสลับกับการพยายามทำตามความหวังให้สำเร็จ พอคิดแต่เรื่องงานมาก ๆ เข้า ก็ไม่ได้ปล่อยให้ตัวเองได้ผ่อนคลาย หรือไปมีความสุขเพื่อเยียวยาระหว่างทางจนไปถึงจุดหนึ่งที่อารมณ์ขึ้นสุดและไปต่อมากกว่านี้ไม่ไหวแล้ว ร่างกายและจิตใจก็พยายามหาทางหยุดคิดหยุดทำ ปลีกตัวให้ได้พักจากความตึงเครียด ซึ่งระหว่างตรงนี้เองก็เป็นช่วงที่อารมณ์ดาวน์เกิดขึ้นเพราะว่าเงื่อนไขในชีวิตหลายอย่างทำให้เราไม่สามารถไปในทุกๆ ที่และทุกๆ การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดความรู้สึกโทษตัวเองขึ้นมา ว่าควรทำได้มากกว่านี้ […]
ช่อขวัญ ช่อผกา (คิดตี้) เป็น CEO และผู้ก่อตั้งของบริษัท Elevated Estate ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชาในเชิงของธุรกิจ และเป็นคุณแม่สุดเฮี้ยบของลูกๆ วัยกำลังซน ด้วยความที่คิตตี้โตมากับเกมครอบครัวอย่าง Monopoly, Clue, Scrabble ความเนิร์ดนี้ก็ได้ส่งต่อไปยังลูกๆ ที่เร่ิมอยากเรียนวิธีเล่น Magic the Gathering และมีแนวโน้มว่าเมื่อเด็กๆ โตขึ้น จะได้เข้าถึง Dungeons & Dragons เพราะว่าแม่เป็นเซียนมาก่อน อย่างไรก็ตาม เราชวนคิตตี้เล่นเกมการ์ด Free Spirit Dialogue Starter เพื่อชวนคุยเรื่องความรู้สึกภายในใจที่อาจจะอธิบายออกมาป็นคำพูดไม่ได้ แล้วถามเธอว่า เล่นแล้วเป็นไงบ้าง ? เกมการ์ดนี้อย่างแรกคือภาพสวย และเป็นภาพนามธรรม ซึ่งทำให้เราคิดว่า ในชีวิตที่เราต้องตีความสิ่งต่างๆ เยอะๆ โดยเฉพาะช่วงนี้คือการตีความเรื่องกฎหมาย (จากงานที่เราทำ) บทบาทของทนายก็คือตีทุกอย่างตามคำฟ้องนู้นนี่นั่น แต่เกมการ์ดที่เป็นเรื่องความรู้สึก เราจะไปตีอารมณ์ ความรู้สึก ชีวิต โลกของคนที่เรากำลังนั่งอยู่ตรงหน้า ซึ่งขอพวกนี้มันไม่ใช่อยู่ๆ จะมาคุยกันได้ มันต้องมีโอกาสให้เราได้นั่งคุยกัน มันเหมือนกับเป็นการเปิดพื้นที่ให้มีการสื่อออกมาถึงความรู้สึกในใจ โดยการที่มีภาพที่เป็นตัวแทนของความรู้สึกในห้วงขณะนั้น […]
“คนเราไม่ได้เป็นแบบเดิมตลอดเวลา อยู่ที่ว่าเราอยู่สถานที่ไหนและเราต้องการให้มันเป็นยังไง” – สัณหณัฐ ทิราชีพ (นอร์ท) คอนเทนท์ครีเอเตอร์ นักเดี่ยวไมโครโฟน และนักแสดง บอกกับเราด้วยน้ำเสียงเคร่งขรึม ด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร เพจบ้านกูเองใช้เวลา 2 ปี ในการสร้างผู้ติดตามจาก 0 สู่ยอดผู้ติดตาม 800,000 คน ในปี 2021 บางคนอาจมองว่าการสร้างคอนเทนท์ตลกเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่มีความตลกเป็นพรสวรรค์ แต่สำหรับนอร์ทแล้ว ความตลกเป็นเรื่องของการวางแผนมาอย่างดี ทำคอนเทนท์ตลกเนี่ย สนุกมั้ย ในชีวิตจริง คืออย่างแรกเลย เราไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนตลก ทุกอย่างที่เห็นในเพจเราเขียนบททุกอันและเป็นการแสดงทุกอัน ในการคิดงานของเรา เราไม่ได้เริ่มคิดว่า “วันนี้จะทำอะไรให้ตลกดีนะ” แต่เราคิดงานจากการตั้งคำถามกับสังคมมากกว่าว่า “สถานการณ์มาแบบนี้ สามารถทำแบบนี้ได้ไหม ถ้าทำแบบนี้ทำไมจะทำไม่ได้” แล้วความที่มันคาดไม่ถึงเนี่ย ก็สร้างให้เกิดเป็นรสที่ตลกขึ้นมา ระหว่างที่ทำงานก็มีช่วงที่สนุกมาก ทำงานรื่นเริงมาก จนถึงช่วงที่เครียดมากๆ ในปีแรก จนตอนหลังได้คอนเสปมาว่า เพจเราใช้วิธีคุยกับตัวเองว่าเรามองสิ่งนั้นสิ่งนี้ยังไง ซึ่งบางไอเดีย ถ้าไปคุยกับคนอื่นก็จะขัดแย้งต่อกรอบสังคมว่าแบบนั้นทำได้ แบบนี้ทำไม่ได้ แต่ถ้าเราคุยกับตัวเองและอยู่ในเซทติ้งที่เป็นโลกของสิ่งสมมุติแล้ว เราจะขัดแย้งกับสังคมแค่ไหนก็ได้เพราะเราคุยกับตัวเอง […]
“หลายคนจะมองเห็นว่า ครูทอมเป็นคนที่มั่นใจ ดูไม่น่าจะมีประเด็นอะไรอ่อนไหวในใจ แต่จริง ๆ แล้วคือมีเยอะมาก ทั้งเรื่องการงาน เรื่องเพื่อน ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ครอบครัว หลายอย่างมันแอบๆ อยู่ในนั้น แล้วคือไม่อยากจะพูดออกมาเพราะบางทีเราก็ไม่รู้ว่า ถ้าพูดออกมาแล้วจะไปทำร้ายความรู้สึกของใครบ้าง เราเลยเลือกที่จะเก็บไว้” จักรกฤต โยมพยอม (ครูทอม) พิธีกรรายการโทรทัศน์ เป็นนักแสดงอิสระ เป็นนักเขียน จัด podcast เป็นครูสอนภาษาไทย และกำลังเรียนปริญญาโทอยู่ที่ คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาฯ ขณะเล่นการ์ดเกมกับเรา ครูทอมเล่าให้เราฟังว่า “คนอื่นไม่ใช่ตัวเราไม่รู้หรอกว่าเรารู้สึกยังไงกับการเป็นครูทอม” การใช้ชีวิตแบบที่คีพคาร์เรคเตอร์ชัดเจนเนี่ยมันเป็นยังไง เล่าให้ฟังหน่อย เมื่อก่อนเราก็เป็นเด็กต่างจังหวัดธรรมดาคนหนึ่ง เรียนหนังสือกลาง ๆ ไม่ได้โดดเด่นมาก เน้นทำกิจกรรมจนกระทั่งเรามีโอกาสได้เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ มีโอกาสได้ลองทำกิจกรรมจนมันทำให้เรามาไกลจากเมื่อก่อนซึ่งคำว่ามาไกลเนี่ย มันมาจากความพยายามที่เราอยากจะเป็นแบบนี้ อยากจะก้าวมาถึงจุดนี้ และเราก็อยากจะก้าวต่อไปในอนาคต พอได้ลองเล่นเกมเมื่อสักครู่นี้ หยิบไพ่ขึ้นมาปั๊บ มันก็ทำให้เราคิดอยู่ตลอดว่า แล้วเราจะทำยังไง ให้เราสามารถจะทะลุกรอบความเป็นครูทอม เพื่อให้ได้ทำงานอย่างอื่นๆ ที่เราก็ชอบ ที่เราก็สนใจ แต่ยังไม่มีโอกาสได้ทำ คือว่าภาพลักษณ์ของการเป็นครูทอมเนี่ย มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ปิดกั้นโอกาสบางอย่างของเรา คือคนภายนอกจะรับรู้ว่าเราชอบเรื่องเกี่ยวกับภาษาไทย งานวิชาการ […]
สำหรับคนที่ชอบลายเส้นหวานๆ อาจจะคุ้นเคยกับชื่อของ “Paerytopia” หรือ พิมพ์ชนก ทีปพงศ์ (แพร) นักวาดที่ขยันออกผลงานบ่อยมากกก ไม่ว่าจะเป็น สินค้าที่ระลึก และคอนเทนท์ออนไลน์ ด้วยความที่ทุกวันนี้ตลาดนักวาดมีคนเข้ามาโลดแล่นในวงการมากขึ้น เราเลยอยากใช้เวลาช่วงบ่ายสั้นๆ ชวนแพรพูดคุยกันว่า “การทำงานที่เรารัก” อย่างเช่นงานวาด บางครั้งอาจไม่ได้เป็นเส้นทางที่สวยหวานเสมอไป แนะนำตัวเองหน่อยค่า ตอนนี้เป็นนักวาดภาพประกอบอิสระค่ะ ส่วนมากจะวาดภาพเป็นสไตล์ผู้หญิงๆ หวานๆ ซึ่งแนวนี้เราวาดมาตลอดตั้งแต่ยังเป็นเด็กอนุบาล ซึ่งในยุคสมัยที่เราโตขึ้นมา เราไม่คิดว่าจะมีคนชอบสไตล์แบบนี้ แต่กลายเป็นว่าทุกวันนี้ เป็นแนวงานที่มีคนชอบมากขึ้น แพรรู้จักตัวเองได้ยังไงคะ ก่อนที่จะเป็นเรา เราผ่านอะไรที่รู้สึกว่า อันนี้ใช่เรานะ อันนี้ไม่ใช่ ก็ลองหลายๆอย่าง มาก่อน ระหว่างทางค้นหาก็ได้ค่อยๆ ประกอบสิ่งที่เราเลือกเก็บไว้ในชีวิต ให้กลายมาเป็นชิ้นส่วนที่ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ แต่ถึงยังงั้น พอย้อนกลับมาดู เราก็รู้สึกว่างานที่ทำอยู่ยังไม่ใช่ตัวเรา 100% นะ เหมือนต้องพัฒนาตัวเองตลอดแล้วก็ตอนนี้เรายังต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของคนอื่นอยู่ ถ้าให้เลือกไพ่ 1 ใบที่บอกถึงความรู้สึกในช่วงนี้ ช่วงนี้เราทำงานเยอะแล้วเราไม่ได้ประเมินตัวเองให้ดีว่าไหวมั้ยกับงานแบบนี้ ทำให้เหมือนติดอยู่ในห่วงที่เราสร้างขึ้นมาเอง ก็ทำให้ได้คิดนะว่า สิ่งที่ดีที่สุดที่เราอยากได้รับ ก็คือเพื่อนและแฟนคลับที่คอยสนับสนุนเราตลอด ถ้าให้เลือกไพ่ 1 […]
สำหรับคนที่ติดตามวงการสตาร์ทอัพและสุขภาพจิต เราอาจจะคุ้นชื่อ Ooca แอพลิเคชันและเว็บแอปที่ทำให้การนัดหมายจิตแพทย์/นักจิตวิทยาเป็นเรื่องง่าย รวมไปถึงโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยให้นักศึกษาและเยาวชนสามารถรับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วันนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศจากการพูดถึงงานของเธอมาพูดถึงคุณค่าของพื้นที่ปลอดภัยในการสนทนาผ่านการ์ดเกม Free Spirit Dialogue Starter ร่วมกับทีมงานของคุณอิ๊ก กัญจน์ภัสสร ในเย็นวันหลังเลิกงาน คนไทยมีโอกาสได้คุยเรื่องลึกๆ กันบ่อยขนาดไหน แล้วแต่สังคมว่าเค้าอยู่ในสังคมแบบไหน บางคนอาจจะพูดคุยเรื่องชีวิต ปรัชญา ความหมาย กับกลุ่มเพื่อนอยู่แล้วเป็นปกติ แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งแหละที่ไม่มีโอกาสได้เล่าเรื่องพวกนี้เลย อย่างเวลาไปงานกินเลี้ยง ไปเจอเพื่อนที่ไม่สนิท ก็อาจถูกถามว่าชีวิต งาน ความรัก เป็นยังไง มีลูกหรือยัง ลูกเป็นเพศอะไร ทำบ้านไปถึงไหน สุขภาพเป็นยังไง ซึ่งทุกคนรู้กันว่าบทสนทนาภาคบังคับคืออะไร และเป็นสิ่งที่เราเดาคำตอบได้ ส่วนหนึ่งเพราะเวลาในการจะมานั่งคุยกันจริงๆ มันไม่ได้หากันง่ายๆ แต่ เราเชื่อว่า การเปิดใจนั่งคุยกันลึกๆ กับใครสักคน มันก็เป็นสิ่งที่ต้องถูกฝึกมา บางคนที่รู้สึกคุ้นชินกับการเล่าเรื่องและความรู้สึกของตัวเองก็จะสามารถพูดได้เลย แต่คนที่ยังไม่ชิน เขาจะต้องการพื้นฐานปลอดภัย ไว้วางใจที่จะเล่า หรือที่เรียกว่าพื้นที่ปลอดภัย (safe space) ————- พื้นที่ปลอดภัยคืออะไร สร้างยังไง […]
คุณอาจจะรู้สึกคุ้นเคยกับสติ๊กเกอร์และสารพัดของกุ๊กกิ๊กที่ปรากฎในภาพ – ลูกไม้ ดวงกมล หรือนามแฝง Erdy (เออดี) เป็นนักวาดภาพประกอบอิสระที่ทำงานหลากหลายทั้งกราฟิก อินโฟ เวคเตอร์ ไปจนถึงสีน้ำ แม้ผลงานจะเป็นที่นิยมในกลุ่มคนวัยเรียน แต่สำหรับลูกไม้แล้ว วัย 30 ปีของเธอ คือช่วงวัยที่ “โดนล้างสมองว่าต้องมีบ้านรถ และมีเงินเก็บหลายล้าน แต่เราก็แอบคิดว่า เราไม่มีได้มั้ย” วันนี้ Free Spirit Club เลยอยากจะชวนลูกไม้คุยถึงทรรศนคติของชีวิตและการงานในฐานะนักวาดที่มีประสบการณ์คนหนึ่ง อะไรทำให้อยากเป็นนักวาดภาพประกอบ? คือตอนแรกเราอยากวาดการ์ตูน แต่พอได้ลองวาดจริงๆ แล้วมันเหนื่อยเพราะต้องวาดหลายช่อง หลายหน้า เลยหันมาวาดภาพประกอบแทนเพราะมันวาดรูปเดียวจบ 555 ที่จริงตอนเรียนมหาลัย เรายังไม่รู้ว่าเราชอบทำอะไรนะ ช่วงนั้นเลยลองเรียนหลายอย่าง ไปลงเรียนกราฟิกก็พบว่าเครียด เรียนวาดรูปสนุกกว่า ทีนี้ได้ทีสิสเป็นหนังสือ งานวาดก็เลยลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน งานที่ทำแล้วชอบเองในช่วงนี้คืองานชิ้นไหน? ชิ้นที่ทำภาพประกอบให้กับหนังสือของการท่องเที่ยวไทย เพราะเป็นเล่มที่พูดเรื่องทรัพยากรกับการท่องเที่ยว ว่ามันมีอะไรมากกว่าแค่ชวนคนไปเที่ยวช่วงวันหยุดแต่มันมีเรื่องของทรัพยากรไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทรัพยากรบางอย่างใช้แล้วอาจหมดไป ดังนั้นมันมีอะไรซ่อนอยู่หลังคำว่าการท่องเที่ยวเยอะมาก ตอนนี้งานของลูกไม้มีอยู่ทุกที่เลย ถือว่าจุดนี้สำเร็จหรือพึงพอใจแล้วหรือยัง? เราว่ายังไม่ประสบความสำเร็จในแง่การทำเป็นอาชีพ เพราะเรายังต้องรับงานกราฟิกหรืองานเอเจนซี่ที่มีบรีฟจากลูกค้า สำหรับเราการประสบความสำเร็จในฐานะนักวาดหรือศิลปินคือได้วาดตามใจตัวเอง และมีคนให้มูลค่ากับงานของเราที่ออกมาจากตัวเรา ในช่วงที่ต้องหาที่ยืนให้ตัวเองในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน มีอะไรที่อยากเล่าให้นักวาดรุ่นใหม่ๆ รับรู้บ้าง […]
จากวันแรกที่สังคมรู้จักเธอในฐานะอดีตสมาชิกรุ่นแรกของวงไอดอล BNK48 สู่การผันตัวมาเป็นศิลปินอิสระ ล่าสุด “แคน นายิกา” วัย 25 ปี ก็ได้เดินทางเข้าสู่บทบาทใหม่ในฐานะนักรณรงค์และผู้ช่วยนักการเมืองที่มีผู้ติดตามบนโลกออนไลน์หลักแสน ด้วยความที่ต้องทำงานกับผู้คน และต้องบริหารความคาดหวัง เราเลยชวนแคนมานั่งคุยกันว่าจัดการกับบทบาทของตัวเองที่ท้าทายขึ้นอย่างไรผ่านการเล่นเกมการ์ด Free Spirit Dialogue Starter ซึ่งคำถามแรกที่เราถามเธอคือ ช่วงนี้ชีวิตเป็นยังไงบ้าง? “ช่วงนี้แคนเจอคนเยอะ เลยก็เหมือนมีเรื่องในใจค่อนข้างเยอะ และไม่ได้พูดออกมา เกมนี้เหมือนช่วยให้เราได้ทบทวนชีวิต ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงนี้ไม่มีใครมาถามเราเลยว่าเราเป็นยังไงบ้าง ทำแต่งาน เราเลยไม่ได้มีโอกาสได้พูดออกมา” เราให้เธอเลือกการ์ดที่แสดงออกถึงความเป็นตัวเอง แคนแคนหยุดคิดเล็กน้อยก่อนหยิบการ์ดใบหนึ่งขึ้นมา “เราเลือกอันที่เป็นดอกไม้ สีชมพูมีแดดส่อง เพราะเราชอบความสดใส ไม่ชอบอะไรที่เป็นทุกข์ เหมือนดอกไม้ที่อยากมีความสุขตลอดเวลา ทำให้ในทางกลับกันเราก็หลีกเลี่ยงสิ่งที่มันเศร้าไปด้วย รู้ตัวอีกทีก็เป็นคนที่เก็บทุกอย่างไว้จนไม่ไหวถึงระเบิดออกมา” “รู้ตัวอีกทีก็ร้องไห้ออกมา เพราะวันนี้เป็นวันแรกในรอบหลายวันที่มีคนถามเราว่า ช่วงนี้เรากังวลเรื่องอะไรบ้าง เราบอกคนในวงว่า เรากลัวไม่ได้รับความรัก เราอยากให้คนเข้าใจว่าเราเป็นคนยังไง” “จากนั้นคนในวงเกมก็ให้ของขวัญเราผ่านความหมายของการ์ด เราเลยรู้สึกว่าเออมีคนเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นทำให้นึกได้ว่า เราก็ไม่ผิดนี่นาที่จะรู้สึกแบบนี้ พอมีคนให้กำลังใจ น้ำตาเราก็ไหลออกมาอีกครั้ง” แคนจัดการความทุกข์อย่างไรในวันที่ไม่มีคนถามว่าเราเป็นยังไงบ้าง “บางคนไม่มีโอกาสเลยที่จะได้พูดความในใจออกมา เพราะสภาพแวดล้อมของเขาอาจจะไม่ได้อยากรับฟัง ซึ่งความทุกข์เป็นสิ่งที่รักษาไม่หายขาด ต้องมีบางอย่างเป็นเครื่องเตือนใจ ซึ่งการได้พูดคุยและถูกรับฟังก็ถือเป็นเครื่องเตือนใจอย่างนึง” “แคนเลยชอบไอเดียการเล่นไพ่ […]