We are afraid to care too much, for fear that the other person does not care at all.
Eleanor Roosevelt
สำหรับหลายคนการฟังเพลงถึงแม้จะเป็นเพลงที่สื่ออารมณ์ทางลบเช่นเศร้าโกรธกลับเป็นการช่วยรับมือกับอารมณ์ได้ดีบางคนฟังเพลงแล้วไหลไปกับอารมณ์เพลงบางคนใช้เพลงเพื่อรู้สึกเชื่อมโยงกับอะไรบางอย่างใช้ช่วยให้ผ่านความเศร้าไปได้หรือฟังเพื่อหาวิธีก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบาก เป็นเรื่องน่าสนใจที่ดนตรีเข้ามามีบทบาทมากในชีวิตของคนในยุคนี้วัยรุ่นฟังเพลงเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉพาะเมื่อรู้สึกทุกข์ใจความเชื่อมโยงระหว่างการเสพดนตรีกับความเศร้าในคนรุ่นใหม่นี้ได้นำไปสู่การโทษเพลงเศร้าสำหรับการฆ่าตัวตายในหลายครั้งอย่างมีเคสที่วัยรุ่นฆ่าตัวตายหลังจากหลายเดือนที่โพสท์ระบายอารมณ์ผ่านเพลงแนวอีโม อย่างไรก็ตามความเศร้าเป็นอารมณ์ที่ปกติในการตอบสนองต่อสถานการณ์บีบคั้นความรู้สึกและยังช่วยกระตุ้นให้คิดอย่างรอบคอบต่อสถานการณ์เพื่อปรับปรุงตัวเองแต่การซึมเศร้านั้นต่างออกไปแทนที่จะทำให้เกิดแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงและความคิดที่ชัดเจนภาวะซึมเศร้าทำให้สูญเสียแรงกระตุ้นและมีความคิดวิเคราะห์ที่ลดลง โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเป็นความกังวลของศตวรรษนี้องค์กรอนามัยโลกประมาณการว่ามีคนฆ่าตัวตายมากกว่า 8 แสนคนต่อปีและกระทบต่อคนอื่นโดยเฉพาะในช่วงอายุ 15-29 ปี คนเป็นโรคซึมเศร้าตอบสนองต่อเพลงเศร้าต่างจากคนที่รู้สึกเศร้าทั่วไปเป็นข้อสรุปจากทดลองที่ให้คนเลือกเพลงที่ทำให้ตัวเองเศร้าและมีความสุขมาอย่างละเพลงแล้ววัดการตอบสนองต่อเพลงทั้งสองพบว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้ารู้สึกแย่ลงหลังจากฟังเพลงเศร้าต่างจากคนทั่วไปที่บางคนรู้สึกดีขึ้นส่วนคนที่รู้สึกแย่ลงกลับรู้สึกแย่น้อยและรู้สึกแย่สั้นกว่ากลุ่มที่เป็นโรคซึมเศร้าขณะเดียวกันหากกลุ่มซึมเศร้าฟังเพลงที่เลือกมาว่าฟังแล้วมีความสุขเมื่อฟังแล้วก็รู้สึกดีขึ้นรวมถึงคนที่มีภาวะซึมเศร้าสูงด้วย ผู้ป่วยซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะติดอยู่ในรูปแบบการคิดแบบเดิม และยากที่จะหลุดพ้นจากความคิดทางลบงานวิจัยพบว่า การฟังเพลงเศร้าจะทำให้ลูปการคิดลบนั้นยาวนานขึ้นรวมถึงยังกระตุ้นความทรงจำที่เศร้า อย่างเช่นคนที่เพิ่งอกหักอาจฟังเพลงเจ็บๆซักเพลงแล้วร้องไห้เสร็จแล้วก็คิดถึงว่าจะใช้ชีวิตต่อยังไงทำยังไงถึงไม่ต้องเจอเรื่องแบบเดิมอีกคนที่มีภาวะซึมเศร้าหากฟังเพลงเดียวกันจะคิดว่าตัวเองไร้ค่าสมควรถูกทิ้งและจะไม่มีวันได้พบเจอกับความรักอีกก็จะเกิดลูปการคิดลบคือการฟังเพลงเศร้าทำให้คนที่มีเป็นโรคซึมเศร้านั้นดิ่งลงไปมากกว่าเดิม แล้วเวลาเศร้าทำไมเราไม่ฟังเพลงที่ทำให้มีความสุขล่ะ? จากการศึกษาถึงแม้จะรู้สึกแย่ลงจากการฟังเพลงเศร้าก็ยังมีแนวโน้มที่จะโต้แย้งว่าเพลงเศร้านั้นช่วยให้ดีขึ้นงานศึกษาอื่นๆก็พบว่าบางคนก็ยังคงเลือกจะฟังเพลงเศร้าแม้ทำให้รู้สึกแย่ลง การขาดความเข้าใจในผลกระทบของพฤติกรรมต่ออารมณ์เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้มีโรคซึมเศร้าซึ่งในความจริงแล้วมักจะมีการโต้แย้งอีกด้วยว่าได้รับประโยชน์จากพฤติกรรมที่มีหลักฐานชัดเจนว่าทำให้ภาวะซึมเศร้านั้นแย่ลง ในคนรุ่นใหม่ที่เพลงมีบทบาทสำคัญอาจได้รับประโยชน์หากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าตระหนักถึงผลกระทบที่เพลงมีต่อภาวะอาการ เพลงเศร้าอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับโรคซึมเศร้าและเราอาจต้องระมัดระวังกับเพลงที่จะเลือกฟังบางครั้งการฟังเพลงที่เชื่อมโยงเราเข้ากับความสุขหรือเพลงที่มีเนื้อความเชิงบวกอาจเป็นสิ่งที่จะช่วยเติมพลังงานเพื่อรับมือกับอารมณ์อื่นๆ
ดังที่ได้เสนอไปแล้วว่าความเหงามีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นมีจุดกำเนินแตกกัน วิธีการจัดการก็แตกต่างกันไปในแต่ละปัญหาที่คุณมี แต่การอยู่คนเดียวเป็นต้นตอแห่งความเหงาจริงหรือ? นี่คือตัวอย่างของความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเหงาว่าถ้าทำแล้วจะหาย ทั้งที่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นแว่นขยายความเหงาของคุณให้ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม มีแฟนแล้วทำให้หายเหงา? สเตตัส “เหงาจัง อยากมีใครสักคน” ผู้เขียนอาจจะหมายความว่าอยากมีคู่รักกับเขาบ้าง… แต่ความเหงานั้นเติมเต็มด้วยการมีแฟนจริงหรือ? ถ้าความสัมพันธ์แบบคู่รักนั้นทำให้คุณสนิทใจมากพอได้เท่ากับการคุยกับเพื่อนสนิท ถ้าความสัมพันธ์นั้นคุณสามารถเปิดใจได้ทุกเรื่องมากกว่าเป็นแค่เพื่อนคุยแบบหวานซึ้ง ใช่เลย! การมีแฟนอาจทำให้ความเหงานั้นคลี่คลายได้ แต่ไม่ใช่เป็นเพราะความสัมพันธ์แบบคู่รักช่วยคุณไว้ ความสนิทใจต่างหากล่ะ! ความจริงแล้วเพื่อนสนิทจะทำให้คุณคลายความเหงาได้จากการแชร์เรื่องทีละอันพันละน้อยกับคนที่สบายใจ ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวว่าการปฎิสัมพันธ์ทางสังคมนั้นไม่ใช่วิธิการต่อสู้กับความเหงาอจจะเป็นตัวการใ้ห้ความเหงาขยายใหญ่ขึ้นด้วยซ้ำ (จากปรากฎการการปฎิสัมพันธ์ใน Social
“ความเหงา” เป็นความรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนเดียว แปลกแยกกับสิ่งรอบตัว สมองของเราสร้างความเหงาเพื่อเป็นสัญญาณเตือนว่าเราต้องเติมความต้องการทางสังคม เพื่อให้มนุษย์อยู่รอดปลอดภัย ถึงอย่างนั้น จากการศึกษาด้านจิตวิทยา ทำให้เรารู้ว่า ความเหงามีหลายประเภท เช่น ความเหงาทางความสัมพันธ์, ความเหงาทางสังคม, ความเหงาทางความแตกต่าง, ความเหงาทางความรู้คิด, ความเหงาทางจิตใจ และ ความเหงาทางความตาย ความเหงาแต่ละประเภท มีสาเหตุแตกต่างกัน และแน่นอนว่ามีวิธีการแก้ต่างกัน การบอกว่าเหงาก็ไปหาเพื่อนคุย หรือให้ไปหาอะไรทำ อาจไม่ใช่คำตอบที่ตรงจุดในทุกกรณี นอกจากนี้ คนที่มีอาการเหงาอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีปัญหาเวลาอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ จำเป็นต้องใช้เวลาและความช่วยเหลือจากคนอื่นเช่นกัน
มิลเลนเนียล = คนรุ่นใหม่วัยเหงา ภาพของมิลเลนเนียลมักถูกนำเสนอจากสื่อต่างๆ ว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่ออกไปท่องโลก แฮงค์เอาท์กับเพื่อน ใช้ชีวิตคุ้ม แต่ในขณะเดียวกันมิลเลนเนียลก็เป็นกลุ่มที่รู้สึก “เหงา” มากที่สุด และรู้สึกโดดเดี่ยวจากสังคมมากที่สุดด้วย อย่างในประเทศอังกฤษ สถาบันสถิติแห่งชาติ ได้รายงานว่า กลุ่มคนอายุ 16-24 เป็นกลุ่มที่รู้สึก “เหงา” ที่สุด เช่นเดียวกับที่ประเทศเบลเยี่ยม
ความเหงา = ความเจ็บป่วยของสังคม หลายคนอาจคิดว่า “ความเหงา” เป็นอารมณ์ชั่ววูบ แต่แท้จริงแล้ว “ความเหงา” เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงความเหงา ถือเป็นความเจ็บปวดทางสังคม ส่งผลร้ายต่อร่างกายไม่ต่างจากการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน หรือการติดแอลกอฮอล์ นี่คือปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะในหมู่ผู้สูงอายุ ที่กลายเป็นภาพชินตาตามเมืองใหญ่ทั่วโลก ที่จะเห็นคนอายุมากกว่า 60 ปี
ถ้าเหงาแล้วจะอยู่เฉย ๆ ให้เหงาไปทำไม ออกไปไหนซักที่เพื่อคลายเหงาดีกว่า ลองหาซักที่สนใจหรือเหมาะกับตัวเอง แล้วพาความเหงาไปเป็นเพื่อน ร้านหนังสืออิสระ ออกจากโลกที่เหงา และวุ่นวายด้วยการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกของหนังสือ หามุมนั่งอ่านหนังสือชิล ๆ ในร้าน โดยที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องซื้อกลับ บางร้านก็มีชา กาแฟ ให้นั่งจิบระหว่างการอ่านด้วย https://soimilk.com/city-living/news/Bangkok-Best-Independent-Bookstores?ref=line_today Cafe สัตว์
ความรู้สึก และอารมณ์ต่างๆ ต่างก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดี โดยเฉพาะกับอารมณ์ ความรู้สึก ในด้านลบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากที่คนเราจะรู้สึกเหงา แต่ความเหงาก็ต้องการการดูแลไม่ให้มากเกินไปจน ทำลายความสมดุลของอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างมากกับความเหงา เพราะมนุษย์นั้นอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์กับสิ่ง รอบตัว การที่ความสัมพันธ์มีการเปลี่ยนแปลง สั่นคลอน หรือขาด มักส่งผลให้เกิดความเหงาตามมา หากความ สัมพันธ์เดิมที่เคยมี
เราต่างก็รู้ดีว่ามีคนที่กำลังเหงา อาจเป็นตัวคุณเอง คนรอบข้าง เพื่อนในโซเชียลมีเดีย มีคนมากมาย ประกาศตัวว่าเหงา แต่ความเหงาของคนเหล่านี้กลับไม่ได้เป็นความเหงาในแบบเดียวกัน ถึงคนที่เหงาจะรู้สึก เหงาเหมือนกัน พวกเขาก็ไม่ได้กำลังเหงาในแบบเดียวกัน ความเหงาเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาด้วยตัวมันเอง แต่ประกอบขึ้นด้วยปัจจัยยิบย่อยหลาย อย่าง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ ทักษะทางอารมณ์ สิ่งที่กำลังเผชิญ ความรู้ สภาพแวดล้อม ฯลฯ ปัจจัยที่มีความ
ความเหงาหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ? ไม่มีใครเคยเห็น “ความเหงา” แต่ไม่ว่าใครก็รับรู้ร่วมกันว่าความเหงาเป็นเหมือนอากาศ ที่มีอยู่จริงแม้ มองไม่เห็น และไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักความเหงา มีผลวิจัยรายงานว่าสัตว์ชนิดต่างๆ ก็ล้วนรู้สึก เหงาได้เช่นกัน ในทางจิตวิทยาได้อธิบายความรู้สึกเหงาเอาไว้ว่า “ความรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนเดียว แปลกแยกกับสิ่งรอบ ตัว” ที่ทำให้เราไม่รู้สึกเชื่อมโยงหรืออยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมบางอย่างได้อย่างมีความสุข นั่นอาจเป็นเพราะเราต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ต้องอยู่กับคนที่เคมีหรือความคิดไม่ตรงกัน และเราไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ รวมไปถึงการสูญเสียคนรัก/เพื่อนสนิท หรือแม้แต่