We are afraid to care too much, for fear that the other person does not care at all.
Eleanor Roosevelt
เมื่อเรากลัวอะไร เรามักจะพาตัวเองหนีไปให้ไกลจากสิ่งนั้น แต่มีความกลัวอยู่อย่างหนึ่งที่มีมนต์สะกดให้คนเข้าหาอยู่เสมอ นั่นคือ “ภาพยนตร์สยองขวัญ” แม้ว่าบางคนจะยอมจ่ายเพื่อปิดตาดูไปเกินครึ่งเรื่องก็ตาม ทำไมความน่ากลัวในภาพยนตร์สยองขวัญถึงเป็นที่นิยม? ทางจิตวิทยาได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้ สองปัจจัยแรกคือ “ความตึงเครียด” และ “ความใกล้ตัว” นั่นหมายถึงสถานการณ์ในเรื่องต้องหนักหนาสาหัสที่ทำให้ตัวละครถึงตายได้ และมันต้องน่าเชื่อถือพอที่คนดูสามารถจินตนาการได้ว่า เรื่องแบบนี้สามารถเกิดขึ้นกับตัวเองได้อีกด้วย สัญชาตญาณเอาตัวรอดเป็นสิ่งที่มีในมนุษย์ทุกคน ด้วยเหตุนี้ความกลัวของวัฒนธรรมหนึ่งสามารถส่งต่อไปยังคนต่างวัฒนธรรมได้ง่าย เช่นเดียวกับฉากต่างๆ ในเรื่องที่มักเกิดขึ้นในสถานที่ทั่วๆ ไป
ศิลปินอัจฉริยะในตำนานมากมาย ที่ต่อสู้กับความยากลำบากในชีวิต สรรค์สร้างผลงานขึ้นหิ้งประดับโลกเอาไว้เพียบ แต่กลับต้องพ่ายแพ้ต่อ “ความเศร้า” และจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย ทำไม“ความเศร้า” เป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่ จนแม้แต่บุคคลเหล่านี้ ก็ไม่อาจต้านทานไหว เพราะอะไร? วินเซนต์ แวนโก๊ะ วินเซนต์ แวนโก๊ะ ศิลปินชาวดัตช์ที่เป็นตำนานของโลกก็เช่นกัน เขาเจ็บป่วยจากความเศร้า และต่อสู้กับสติอันไม่อยู่กับร่องกับรอยตลอดชีวิต ลำบากตัวเองยังไม่พอยังทำคนรอบข้างปวดหัวไปด้วยวีรกรรมสุดเพี้ยน
ความเศร้านั้นก็เหมือนกับอารมณ์ด้านลบอื่นๆ ที่พวกเราพยายามจะกดมันเอาไว้ภายใน ทั้งที่ความเศร้านั้นเป็นอารมณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีผล เมื่อเราตั้งมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วต้องผิดหวังนั่นเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความเศร้า เมื่อต้องสูญเสียอะไรบางอย่างไปนั่นก็เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความเศร้า ความเศร้าจึงเป็นอารมณ์ที่มีที่มาที่ไปชัดเจน ถึงแม้ความสุขจะเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนปรารถนา แต่จังหวะของชีวิตบางครั้งก็ก่อให้เกิดความเศร้าไปอยู่บ่อยไป แต่ความเศร้านั้นก็ยังมีข้อดีของมันอยู่เช่นกัน ความเศร้านั้นสามาถเป็นปัจจัยที่เราลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง มองโลกอย่างละเอียดถี่ถ้วนและใช้เหตุผลเป็นสำคัญ สำรวจตัวเองว่าความเศร้าที่เกิดขึ้นนั้นมีที่มาที่ไปหรือเปล่า หากความเศร้าของคุณไม่มีต้นเหตุนั่นอาจจะหมายถึงภาวะซึมเศร้าซึ่งมีผลต่ออารมณ์ร้ายแรงกว่าความเศร้าที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ วิเคราะห์ว่านั่นคือความเศร้าหรือซึมเศร้าแล้วเรามาดู 4 ข้อดีของความเศร้าที่จะเกิดขึ้นกัน ความเศร้าทำให้ความจำดีขึ้น หลักจิตวิทยาขึ้นพื้นฐานกล่าวว่า สิ่งที่เราจดจำในอดีตสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากจากข้อมูลที่ผิดพลาดภายหลัง อารมณ์สามารถส่งผลต่อความสามารถในการจดจำของเรา มีงานวิจัยที่กล่าวว่าความสุขนั้นทำให้เราจดจ่อและเอาใจใส่กับรายละเอียดรอบตัวน้อยลง ซึ่งนั่นส่งผลให้ในระยะยาวความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นคุณจะไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้อย่างชัดเจน
หลายคนอาจคิดว่าน้ำตาคือสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ แต่แท้จริงแล้วต่อคนที่เข้มแข็งที่สุดในโลกก็ย่อมหลั่งน้ำตา เพราะมนุษย์มีน้ำตาอยู่ทุกวินาทีของการมีชีวิต? น้ำตาของมนุษย์มี 3 แบบด้วยกัน 1. น้ำตาเพื่อหล่อลื่นนัยน์ตา 2. น้ำตาเพื่อเกิดจากความระคายเคือง (เข่นเวลาฝุ่นเข้าตาหรือตอนที่ปอกหอมหัวใหญ่) และ 3. น้ำตาจากอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งมาจากทั้งความเศร้าและความสุข ทั้ง 3 แบบมีที่มาต่างกัน น้ำตาที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี คือน้ำตาจากความเศร้า
มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งพูดถึงการฆ่าตัวตายได้อย่างน่าสนใจ หนังเรื่องนั้นชื่อว่า Suicide Circle จากประเทศญี่ปุ่น ที่พูดถึงสาเหตุของการจบชีวิตของคนๆ หนึ่งว่า พวกเขาไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองกับคนรอบตัวและสังคมได้ เลยไม่รู้สึกถึงความหมายของการมีชีวิต และนั่นทำให้ “สายสัมพันธ์” กับคนรอบข้าง คือเครื่องมือเยียวยาความเศร้า และทำให้คนรู้สึกถึงความหมายของการมีอยู่ แน่นอนว่า การปลิดชีวิตตนเองเป็นความสูญเสียที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิด ถึงอย่างนั้นเราสามารถป้องกันได้ ด้วยการสังเกตพฤติกรรมคนใกล้ตัว และทำให้คนที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์รู้ว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลก ถ้าเราสงสัยว่าคนๆ
ในปี 2560 ที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตมาแล้วว่าในประชาชนไทย 100,000 คน มีคนเลือกจบชีวิตตัวเอง 6.35 คน หรือเฉลี่ยแล้วเดือนละ 340 คน โดยสาเหตุหลักของการเลือกจบชีวิตมาจากปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาความสัมพันธ์ นำไปสู่ความเศร้า แม้ว่าความรู้สึกนี้มีหน้าที่กระตุ้นให้คนเราสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ความเศร้าก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนเลือกจบชีวิตตัวเอง โดยเฉพาะคนที่มีความเศร้าอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ความเศร้าที่เรื้อรังจะนำไปสู่ความคิดว่า
มีใครเคยถามตัวเองไหมว่า ในเมื่อทุกๆ คนต่างก็ต้องการความสุขในชีวิต แล้วทำไมเราถึงต้อง “เศร้า” กันด้วย อย่างไรก็ตาม ความเศร้าก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่ไม่ใช่แค่มนุษย์ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดล้วนต้องเผชิญ วิทยาศาสตร์แห่งความเศร้า ในทางวิทยศาสตร์ได้อธิบายความเศร้าไว้ว่าเป็นการทำงานของ สมองกลีบท้ายทอย สมองกลีบอินซูลาฝั่งซ้าย ทาลามัสฝั่งซ้าย และฮิปโปแคมปัส ทั้งหมดนี้รวมกันประมวลผลเรื่องความขัดแย้ง ความเจ็บปวด ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความทรงจำ
หนึ่งในความรู้สึกที่ไม่ว่าใครก็หนีไม่พ้นคือ “ความเศร้า” ความเศร้าเป็นเหมือนกับความรู้สึกอื่นๆ ที่เข้ามาแล้วจากไป อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีภาวะเศร้านานกว่าคนอื่นๆ แน่นอนว่าอารมณ์เศร้าสามารถจางหายไปเอง เมื่อเวลาผ่านไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องหาวิธีรับมือกับมัน เพราะการปล่อยทิ้งไว้จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตเช่นความเครียดและโรคซึมเศร้าได้ แต่ละคนมีวิธีเยียวยาตัวเองจากความเศร้าแตกต่างกันไป ถึงอย่างนั้น ในทางจิตวิทยาก็มีคำแนะนำดังนี้ 1. ปล่อยให้ตัวเองได้เศร้า หลายคนอาจเคยได้ยินว่า การข่มใจ เก็บซ่อนน้ำตาเอาไว้ไม่ให้ใครเห็นว่าเราโศกเศร้าเป็นเรื่องของคนเข้มแช็ง
ชีวิตนำพาเรื่องน่าเศร้ามาสู่เราเสมอ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเรียนรู้วิธีรับมือกับมัน เพื่อที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมั่นคง ถึงแม้ความรู้สึกเศร้าจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งสำคัญคือจัดการกับความเศร้าอย่างไรไม่ให้ทำลายสมดุลของความรู้สึก หยุดคิดลบ เคยเป็นมั้ย? เวลาเศร้าจะเวิ่นเว้อไปต่างๆ นาๆ เวลาเศร้าความคิดเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากความเศร้า หรือจมดิ่งลึกลงกว่าเดิม ดังนั้นตั้งสติ แล้วหยุดความคิดพวกนั้น แล้วลองมองไปข้างหน้าว่าเสียใจเสร็จแล้วจะทำยังไงต่อดี จะแก้ปัญหายังไง มองข้ามไปที่เรื่องหลังจากเศร้าเสร็จแล้วว่าอยากให้เป็นยังไง รู้ทันความคิดและอารมณ์ตัวเองก็จะยับยั้งและบรรเทาความเศร้าได้
สังคมปัจจุบันให้คุณค่ากับความสุขเมื่อคุณบอกกับใครซักคนถึงความเศร้าที่คุณมีอาจมักได้การตอบกลับให้คิดบวกแต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อสังคมกดดันให้มีความสุขกลับให้ผลตรงกันข้ามและอาจนำไปสู่อัตราที่เพิ่มขึ้นของโรคซึมเศร้าได้ ในปี 2017 มีงานวิจัย "การรับความกดดันจากสังคมให้ไม่คิดลบคาดการณ์อาการซึมเศร้าในชีวิตประจำวัน" (Perceiving social pressure not to feel negative predicts depressive symptoms in daily life) โดยพยายามศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังของสังคมให้ไม่คิดลบกับการเกิดอาการซึมเศร้า โดยมีการทดลองให้ผู้เข้าร่วม