บทความ

ผมเพิ่งผ่านช่วงเลวร้ายของชีวิตมา วันนี้ก็เป็นวันที่เลวร้ายอีกวันหนึ่ง เพราะบุพการีมีปัญหาจากการถูกโจรกรรม    เศรษฐกิจ​ที่แย่ทำร้ายเราทุกคนอย่างรุนแรง เปลี่ยนคนให้เป็นอาชญากรได้ เรานึกสงสารโจรมากกว่าว่าเขาคงไม่เหลืออะไรแล้วจนต้องเลือกวิธีนี้ ก่อนหน้านี้เราหลอนประสาท กลัวคนทำร้าย  มองคนรอบตัวว่าทุกคนสมเพชเรา พร้อมจะซ้ำเติมเรา ทั้งๆที่ความเป็นจริงคืออาการกลัวไปเอง   เราค้นพบหลังจากพบแพทย์ว่าคนหลายๆคนก็ยังพร้อมที่จะให้กำลังใจเรา  แม้จะผิดพลาด ล้มเหลว เสียสติ ทำร้ายคนอื่นอย่างรุนแรงมามากมาย  และเราขอบคุณ​พวกเขามากๆที่ยังอยู่กับเรา   
หนูรู้จักกับเขาโดยบังเอิญ และเราก็คุยกันมาเรื่อยๆในฐานะพี่น้อง  ตอนแรกหนูแค่มีความรู้สึกดีด้วยเฉยๆ  คิดว่าเขาดูคุยง่าย เฟรนด์ลี่ดี คุยสนุก  มีอะไรเขาก็เป็นที่ปรึกษาแนะนำให้เราดี  เป็นเพื่อนคุยแก้เหงา  เขายอมให้หนูระบายสิ่งที่อึดอัดในใจ  ทำให้หนูมีความรู้สึกดีๆกับเขา...   วันหนึ่ง อยู่ๆเขาก็บอกว่า เขาเหงา  และเขาก็ชวนคุยที่แปลกไปจากเดิม  เขาหยอดมากขึ้น  โทรมาคุยด้วย ทั้งๆที่แต่ก่อนก็ไม่เคย  เขาบอกหนูน่ารักจัง ขอจีบหน่อยได้ไหม
เราพึ่งย้ายมาอยู่หอของที่ทำงาน อยู่คนเดียวเลยออกเที่ยวบ่อย เพราะรู้สึกเหงามาก กว่าจะหลับในแต่ละคืน เที่ยว กินเหล้าบ่อยมาก   แต่เมื่อคืนมันกลับต่างออกไป เราดันนัดกินเหล้ากับคนคุยเก่า เราเคยคุย และเกือบคบ แต่เราเป็นคนทิ้งเขาไปเอง แต่หลังจากนั้นเราก็เคลียกัน จนเป็นเพื่อนกันได้   เป็นเพื่อนที่คอยให้คำปรึกษากันมา 3 ปีละ ต่างคนต่างมีแฟนใหม่ แต่เผอิญดันโสดพร้อมๆกัน
ฉันตัดสินใจออกจากกลุ่มมา เพราะความรู้สึกโดดเดี่ยว และหลังจากนั้นมา...ฉันก็อยู่ตัวคนเดียว   เป็นความผิดของฉันเองที่ทำให้แม้กระทั่งบรรดาอาจารย์เอือมระอา ทำให้เพื่อนๆทอดทิ้งฉัน และได้เริ่มต้นใหม่อย่างมีความสุข (ในขณะที่ตอนที่มีฉันอยู่ ทุกคนคงรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่าย)   แต่ถึงอย่างนั้น...ความรู้สึกเจ็บที่ไม่ว่าใครๆก็ต่างก้าวต่อไปข้างหน้าโดยลืมฉันไปแล้ว (ไม่สิ ไม่สนใจการมีอยู่ของฉันอีกแล้ว) ยังแผ่ซ่านไปทั่วร่างจนชาไปทั้งตัว ฉันไม่สามารถหันหน้ามองพวกเขาได้อีก ฉันกลัวที่ได้ยินเสียง หรือรับรู้เกี่ยวกับพวกเขา ฉันขอแยกห้องนอนกับพ่อแม่เพื่อจะได้ร้องไห้ตอนกลางคืนได้อย่างเต็มที่ ฉันไม่กล้าลุกออกจากเตียงเพื่อเริ่มต้นวันใหม่  
ความเหงาเป็นสิ่งที่ไม่เคยนึกเคยฝันเลยว่าจะเจอกับตัวเอง   ตอนเด็กๆจำได้ว่าเป็นเด็กที่สามารถสนุกผ่านจินตนาการตัวเอง อิสระ ไร้ซึ่งแรงกดดัน แต่พอโตขึ้นความกลัวก็เริ่มเกาะกินใจ ....เด็กในวันนั้นหายไปไหน...   ไม่มีเสียงตอบรับ...   ทุกๆวันใช้ชีวิตกับคำถามที่ว่าเราเป็นอะไรกันแน่ ?    เมื่อความกลัวเข้าถึงแก่นก็ทำให้รับรู้ได้ว่าโลกนี้มันช่างแย่เสียเหลือเกิน  และความเศร้าก็เริ่มตามมา    เราเถียงกับตัวเองซ้ำไปซ้ำมา  จนสุดท้ายต้องเว้นระยะจากทุกคน  เพื่อให้ทุกคนไม่มาเจ็บปวดกับสิ่งเหล่านี้  
ตัวหนูเองเป็นคนขี้เหงาและขี้เบื่อมากๆ เป็นคนชอบอยู่กับคนอื่น ในขณะที่บางทีก็ชอบอยู่คนเดียว   หนูเคยคบกับคนคนนึงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเพิ่งเลิกกันไปเมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน   ความเหงาในชีวิตหนูมันเริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนที่หนูย้ายมาเข้าชั้น ม.4 ที่โรงเรียนอื่น หนูมาเหมือนตัวคนเดียวทั้งๆที่เพื่อนในกลุ่มก็มาด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่คนที่หนูสนิทที่มาด้วยกัน ในตอนแรกๆมายังไม่เจอปัญหาอะไร แต่ด้วยความที่สังคมที่นี้ต่างจากโรงเรียนเดิมมากๆ หนูได้แต่โทรไประบายกับแม่และเพื่อนสนิททุกสัปดาห์   จนมาเทอม 2
ด้วยนิสัยส่วนตัวผมไม่ชอบความวุ่นวาย เสียงดัง สถานที่ที่ผู้คนเบียดเสียด  การไปที่ที่คนเยอะๆ ไม่เคยทำให้ผมรู้สึกหายเหงา  แต่ทุกๆ ครั้งมันกลับทำให้ผมเหงามากกว่าเดิม  ความเหงาสำหรับผมจึงไม่ได้เกิดจากการที่ผมไม่มีคนรอบข้าง  แต่เกิดจากความรู้สึก “ไร้ตัวตน” ในฝูงชนมากกว่า   หลายคนอาจมองว่า การไปสถานที่คนเยอะๆ ทำให้พวกเขาสนุก กล้าและมีกำลังทำสิ่งต่างๆ  เพราะพวกเขาสามารถสัมผัสถึงพลังงานด้านบวกจากการได้ทำอะไรไปพร้อมๆ กับผู้คนหมู่มาก  การกรี้ดไปพร้อมกับแฟนเพลงหรือแฟนกีฬาคนอื่นๆ การได้เต้นไปตามจังหวะเพลงและร้องเชียร์ทีมกีฬากับคนแปลกหน้าจำนวนมาก 
ช่วงแรกของการเรียนมหาลัย เราพยายามช่วยให้เพื่อน 10 คนเรียน กับเพื่อนอีกคนนึง  เพราะเราค่อนข้างหัวไว พยายามกระตุ้น  แล้วเพื่อนอีกคนที่ช่วยก็ซิ่วไป เราเลยต้องแบกทีม    จนทะเลาะกันกับคนที่ไม่ได้ทำงาน 2 คน เรื่องใหญ่มาก  แล้วเราก็เลยแยกออกมาคนเดียว  เพราะเราให้ทั้งใจแต่เจอแบบนี้เลยรู้สึกแย่มาก    หลังจากนั้นก็กลัวการเข้าสังคมขึ้นมา  ไม่กล้ารู้จักใครได้นาน หรือสนิทมาก 
เราจะรู้สึกเหงาทุกครั้งเมื่อคิดถึงเพื่อนเก่าๆ  เรามักจะคิดว่าทำไมเราถึงไม่มีเพื่อนเหลือเลย  เราทำผิดตรงไหนรึป่าว?    ตอนเด็ก เราเคยเป็นคนที่ชอบบังคับคนอื่น มองโลกในแง่ลบ และคอยจ้องจับผิดว่าคนนั้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี  เราคิดว่าเพราะนิสัยแบบนี้เลยทำให้เราไม่มีเพื่อนสนิทเลย  พอขึ้นมหาลัย เราเลยเปลี่ยนตัวเองและก็มีเพื่อนที่รู้สึกสนิทใจด้วย  จนเรียนจบ เราคิดว่าความสัมพันธ์นี้จะยืนยาว... แต่เพราะหลายปีมานี้เรากับเพื่อนแทบจะไม่ได้เจอกัน แล้วความสัมพันธ์ก็ค่อยๆลดลง    ตอนนี้เราไม่ได้คุยกับเพื่อน เราคิดว่าอยู่ได้  แต่พอเห็นภาพของคนอื่นๆในเฟส  เราก็คิดว่าทำไมเราถึงไม่คุยกับเหมือนเมื่อก่อนแล้วนะ 
ผมกับเพื่อนคนนี้เป็นเด็กซิ่วมาเรียนปีหนึ่งที่เดียวกันด้วยอะไรหลายๆอย่างที่คล้ายกันทำให้เราสนิทกันมาก  ...มากจนเกินไป จนทะเลาะกัน   ครั้งล่าสุดเป็นการการะทำที่ไร้สติของผมที่ทำในสิ่งที่เพื่อนผมเกลียดที่สุด จนถึงขั้นโกรธจะตัดเพื่อนกัน  มันจึงเกิดเป็นความเศร้าเสียใจกับกระทำของตัวเองที่ไม่มีสตินึกคิด ตัวผมเป็นโรคซึมเศร้า​ด้วย เลยควบคุมความคิดอารมณ์​ตัวเองไม่ได้นัก  ผมเครียด เสียใจมาก พยายามง้อพยายามขอโทษให้ถึงที่สุดเพราะกลัว  ...กลัวจะเสียเพื่อนคนสำคัญ​คนนี้ไป    จากคำพูดของผมประโยคหนึ่งที่ว่า  “ถึงครั้งนี้กูจะทำให้มึงโกรธเกลียดด้วยความตั้งใจหรือไม่นั้นกูก็ขอโทษจากใจ สำหรับที่ๆผ่านมาระยะ 1 ปี กูไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีสำหรับมึงเลยหรอ
จริงๆ ก็แอบเหงานะ... เวลาไม่สบายใจ ไม่รู้ว่าจะไปเล่าให้ใครฟังดี   รู้สึกว่ามีเพื่อน...  แต่ไม่ค่อยกล้าทักใครก่อน แม้แต่เพื่อนที่สนิทมากๆ เพราะเรากลัวเพื่อนไม่อยากฟัง, ไม่ว่าง ซึ่งทั้งหมดคือ คิดไปเองทั้งนั้น โดยที่ไม่เคยถามเพื่อนก่อน   จริงๆ คิดว่า เราอาจจะแค่เป็นคนขี้เกรงใจหรือมีเพื่อนสนิทน้อยแค่นั้น แต่ความจริงที่ลึกลงไปกว่านั้นคือ... ประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเป็นบาดแผลในวัยเด็ก ที่เคยถูกเพื่อนแบน
เคยคิดไหมว่าทำไมคนยุคก่อนถึงได้ทำพิธีบูชายัญ นำอาหาร สัตว์เป็นๆ หรือแม้แต่คนด้วยกันเอง มาสังเวยชีวิตแก่เทพเจ้า   ความเชื่อว่าในธรรมชาติมี “เทพ” หรือ “พลังเหนือมนุษย์” สถิตอยู่ เป็นสิ่งที่อารยธรรมทั่วโลกทั้งกรีก อียิปต์ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ของไทยเองก็มีร่วมกัน  ความเชื่อเหล่านั้นมีที่มาเหมือนกันคือ “ความกลัว”  ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ
ความกลัวมาจากไหน? ความกลัวในอดีตโดยบรรพบุรุษของเรานั้นเกิดจากความกลัวต่อภยันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อมองเห็นผู้ล่าหรือเมื่อมีภัยพิบัติกำลังคลืบคลานเข้ามา เมื่อเราเริ่มเห็นว่าสิ่งนั้นส่งผลต่อชีวิตและร่างกายของเรา สมองจะส่งสารแห่งความกลัวไปยังกระแสทั่วร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เราตัดสินใจว่าจะหนีหรือสู้กับสถานการณ์อันตรายที่อยู่ตรงหน้า  ความกลัวในความหมายของสมองและร่างกายจึงเป็นการสั่งการให้ใช้ประสิทธิภาพของร่างกายอย่างสูงสุดเพื่อการเอาชีวิตรอดอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาสั้นๆ และนี่คือกลไกของมัน ความกลัวจากสมอง จุดเริ่มต้นของความกลัวนั้นมาจากสมองส่วนที่รูปร่างคล้ายเม็ดอัลมอนต์ที่มีชื่อว่า อะมิกดะลา (amygdalae) ที่มีรากศัพท์ภาษากรีก มาจากคำว่าอัลมอนต์เช่นเดียวกัน  ต่อมอะมิกดะลาทั้งสองข้างนั้นตั้งอยู่ใกล้กับสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ฝังลึกอยู่ในกลีบขมับส่วนกลาง อะมิกดะลานั้นมีบทบาทอย่างมากเกี่ยวกับระบบความจำและการตอบสนองความรู้สึก โดยเฉพราะอย่างยิ่งความกลัว หากคุณพบเจอสถานการณ์สุ่มเสี่ยงที่ทำให้หัวใจเต้นระส่ำไม่เป็นจังหวะ
ความกลัวคือสัญชาตญาณสำคัญของมนุษย์ ที่ทำให้มนุษย์รักษาเผ่าพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้ ความกลัวทำให้เราไม่ออกไปนอกถ้ำยามวิกาล ทำให้เรารีบระวังตัวเมื่อเห็นพุ่มไม้ใกล้ตัวเราขยับไปมา เราจึงปลอดภัยจากเสือและสัตว์มีพิษต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ยังคงกลัวสิ่งที่มองไม่เห็น และไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีจริงอย่าง “ผี” อีกด้วย บางคนกลัวผีแม้จะเกิดมาไม่เคยเจอก็ตาม  วิทยาศาสตร์แห่งความกลัว ความกลัวของมนุษย์เกิดจากสมองสั่งการ สมองที่ว่าคือส่วน Amygdala ที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเล็กๆ ในสมองของมนุษย์ทั้งหมด สมองส่วน Amygdala
เมื่อเรากลัวอะไร เรามักจะพาตัวเองหนีไปให้ไกลจากสิ่งนั้น แต่มีความกลัวอยู่อย่างหนึ่งที่มีมนต์สะกดให้คนเข้าหาอยู่เสมอ นั่นคือ “ภาพยนตร์สยองขวัญ” แม้ว่าบางคนจะยอมจ่ายเพื่อปิดตาดูไปเกินครึ่งเรื่องก็ตาม ทำไมความน่ากลัวในภาพยนตร์สยองขวัญถึงเป็นที่นิยม? ทางจิตวิทยาได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้ สองปัจจัยแรกคือ “ความตึงเครียด” และ “ความใกล้ตัว” นั่นหมายถึงสถานการณ์ในเรื่องต้องหนักหนาสาหัสที่ทำให้ตัวละครถึงตายได้ และมันต้องน่าเชื่อถือพอที่คนดูสามารถจินตนาการได้ว่า เรื่องแบบนี้สามารถเกิดขึ้นกับตัวเองได้อีกด้วย  สัญชาตญาณเอาตัวรอดเป็นสิ่งที่มีในมนุษย์ทุกคน ด้วยเหตุนี้ความกลัวของวัฒนธรรมหนึ่งสามารถส่งต่อไปยังคนต่างวัฒนธรรมได้ง่าย เช่นเดียวกับฉากต่างๆ ในเรื่องที่มักเกิดขึ้นในสถานที่ทั่วๆ ไป

 

 

Slider